ชื่อ : หูกวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa Linn.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อพื้นเมือง : หูกวาง, โคน, คัดมือหลุมบัง (ใต้), ตาปัง (พายัพ)
ชื่อสามัญ : Indian almond, Umbrella tree
 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ต้นพุ่มทรงเจดีย์ มีกิ่งก้านแตกแผ่ออกไปรอบต้นเป็นชั้น ใบเรียงสลับ มีสีเขียวแก่และหนา ผิวใบเป็นมันวาว ก้านใบสั้น ดอกเป็นแบบช่อเชิงแพ ออกตามซอกใบ ก้านดอกสั้น ผลเป็นแบบเมล็ดเดียวแห้ง รูปไข่หรือรูปรี มีสีเขียวไปจนถึงสีเหลือง ต้นหูกวางสามารถสังเกตุได้ง่าย จากลักษณะการแตกกิ่งและใบขนาดใหญ่อยู่เป้นกระจุกปลายกิ่ง
 
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : หูกวางเป็นชนิดหนึ่งที่มีการนำมาย้อมสีฝ้ายและไหม ในอดีตมีการนำเอาเปลือกของผลซึ่งมีแทนนิน มาใช้ในการย้อมหวาย แต่ในไหมและฝ้ายยังไม่พบรายงานในการใช้เปลือกของผล ทดลองใช้ใบหูกวางย้อมเส้นไหม โดยใช้ใบหูกวางที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป อัตรา 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วนใบสดต่อน้ำ 1 : 2 ต้มนาน 1 ชั่วโมง นำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อย้อมเสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าแช่ในจุนสีจะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า มีความคงทนต่อการซักและมีความคงทนต่อแสงในระดับปานกลาง การใช้น้ำสีที่สกัดจากใบหูกวางและใบสมอผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายช่วยในการติดสีจุนสีหลังย้อม ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
 
การกระจายพันธุ์ : ขึ้นอย่ตามธรรมชาติในบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นทรายหรือหิน ทนทานต่อดินเค็ม สภาพลมแรง ชอบแดดจัดหรือมีร่มเงาปานกลาง ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดินที่มีการระบายน้ำดี
 
ส่วนที่ให้สี : ใบ
สีที่ได้ : สีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว
 
คุณภาพสี :หูกวาง / จุนสี มีระดับความคงทนต่อการซัก : 4-5 , ระดับความคงทนต่อแสง : 4
pantone: Amber Green