ชื่อ : งิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bombax ceiba L.
ชื่อวงศ์ : BOMBRACACEAE
ชื่อพื้นเมือง : งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปง งิ้วปงแดง
ชื่อสามัญ : Kapok tree, Cottontree, Red cotton tree, Shaving brush, Silk
 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลงถึงขนาดใหญ่ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีหนามทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเรียงเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง ขอบใบเรียบ ดอกสีชมพูแกมเลือดหมูมีกลิ่นหอมเอียน ออกเป็นกระจุก หรือเป็นกลุ่ม ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย สีคล้ำ ผลรูปทรงกระบอก ผิวแข็ง เมื่อแก่จัดจะแตดอ้าตามรอยประ ส่วนเมล็ดเล็ก รูปทรงกลม สีดำจำนวนมาก ห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว
 
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ส่วนที่สามารถนำมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม คือ เปลือกต้น โดยลอกเอาเฉพาะเปลือกต้น ด้านใน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1:2 ถ้าต้องการย้อมเส้นไหม 1 กิโลกรัม จะต้องใช้เปลือกงิ้วสด 15 กิโลกรัม ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในน้ำโคลนวันละ 7-8 ชั่วโมง นาน 3 วัน เส้นไหมที่ได้จะอยู่ในโทนสีเทาม่วงแต่ถ้านำไปแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสีได้เส้นไหมสีน้ำตาล
 
การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นในที่รบและป่าเบญพรรณ ตามเชิงเขาและไหล่เขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร
 
ส่วนที่ให้สี : เปลือกต้น
สีที่ได้ : น้ำตาล
 
คุณภาพสี :งิ้ว / โคลน มีระดับความคงทนต่อการซัก : 4 , ระดับความคงทนต่อแสง : 4
pantone: Peppercorn