ชื่อ : เงาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephrolepis lappaceum L.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ชื่อพื้นเมือง : เงาะ
ชื่อสามัญ : Rambutan
 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเจริญตั้งตรงและแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มเปลือกแข็งสีเทาแก่ปนน้ำตาล ใบเป็นลักษณะใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 2-4 คู่ การเรียงของใบย่อยเรียงสลับกัน รูปร่างของใบเป็นรูปยาวรีใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกขนาดเล็กมีขนอ่อนปกคลุม ก้านดอกสั้นและตรง มีสีเขียวปนเหลือง ออกดอกเป็น่ช่อโดยออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีกากีแกมเขียว ผลเงาะเป็นผลเดี่ยวรวมกันเป็นช่อ ช่อหนึ่งๆ มีประมาณ 10-12 ผล ผลมีลักษณะคล้ายรูปไข่ ผลเงาะเมื่อสุกจะมีสีแดง เหลือง หรือสีส้มปนเหลือง และมีขนอ่อนนุ่ม ผลเนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลืองรสหวาน เมล็ดรูปร่างแบนยาวเป็นรูปไข่หรือรูปรี
 
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : เปลือกเงาะส่วนใหญ่จะถูกทิ้งหรือนำไปทำเป็นปุ๋ยแต่คุณสมบัติของเปลือกเงาะจะมีแทนนินและยางอยู่ สังเกตได้เมื่อปลอกเปลือกเงาะออกยางจะติดที่เล็บหรือมีดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำหรือม่วงดำ จากคุณสมบัติข้อนี้จึงทดลองนำมาย้อมสีเส้นไหมปรากฏว่าได้ผลดี โดยใช้เปลือกเงาะสดมาหั่นหรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ เปลือกสด 15 กิโลกรัม นำมาต้มกับน้ำเพื่อสกัดสีโดยใช้อัตราส่วน 1:2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาแช่ในน้ำโคลน วันละ 7-8 ชั่วโมง นาน 3 วัน ควรกลับเส้นไหมย่อยๆ และไม่ควรแช่เส้นไมหค้างคืน หลังจากแช่น้ำโคลนแล้วในว้นแรก ล้างเส้นไหมให้สะอาดผึ่งไว้ในที่ร่มแล้วนำมาแช่โคลนในวันที่ 2 และ3 อีก หลังจากนั้นนำหม้อโคลนที่มีเส้นไหมแช่อยู่มาย้อมต่อที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที สีเนไหมที่ได้จะเป็นสีดำ ใหล้เคียงกับการย้อมด้วยมะเกลือ
 
การกระจายพันธุ์ : เงาะเป็นไม้ผลเมืองร้อนจัดเป็นพืชเศรษฐกิจพื่ชหลักของประเทศไทยมากรปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกและภาคใต้อของประทศเงาะมีหลายสายพันธุ์ได้แก่ เงาะสีชมพู เงาะโรงเรียน และเงาะพื้นเมือง ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ เงาะโรงเรียน ที่มีรสชาติของเนื้อผล หวานกรอบกว่าพันธุ์สีชมพู
 
ส่วนที่ให้สี : เปลือกผล
สีที่ได้ : ดำ
 
คุณภาพสี :เงาะ / โคลน มีระดับความคงทนต่อการซัก : 4-5 , ระดับความคงทนต่อแสง : 6
pantone: Licorice